วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี

อำเภอดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวกหรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามตลาดน้ำคลองต้นเข็ม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 80 กิโลเมตร ในราวปี พ.ศ. 2409 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองดำเนินสะดวกระยะทางกว่า 32 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่บางนกแขวกกับแม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง และมีคลองซอยเล็กๆ มากมาย ทำให้ชาวบ้านในราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สามารถติดต่อกันทางน้ำได้สะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อม บรรทุกสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเริ่มต้นค้าขายกันตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงช่วงประมาณ 11.00 น. ส่วนตลาดน้ำวัดปราสาทสิทธิ์ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตเดิมๆอยู่มากจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ และจะวายตั้งแต่ก่อน 08.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอดำเนินสะดวกโทร. 0 3224 1023, 0 3234 6161 หรือเว็บไซต์ของอำเภอดำเนินสะดวก www.damnoensaduak.com การเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวก รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้ 2 เส้นทาง คือ 1. เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลยกิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร แยกขวาอีก 1กิโลเมตร 2. เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 326 ผ่านตัวเมืองสมุทรสงคราม เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงทางเข้าตลาดน้ำซึ่งอยู่ก่อนถึงสะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร รถประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรกเวลา 05.00 น. ถึงปากทางเข้าตลาดน้ำดำเนินสะดวก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นสามารถโดยสารรถสองแถวเข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก 1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว สถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2434 7192, 0 2435 5605 นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่นได้ เช่น สายกรุงเทพฯ -ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี (สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถวซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออกทุก 10 นาที

ล่องเรือตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงในอดีตเมื่อครั้งขุดคลองสายนี้เสร็จใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ต้องการทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร จึงทรงเรือมาดกะสวยมาตามลำพัง เส้นทางที่พระองค์เสด็จประพาสนี้นับเป็นเส้นทางสายประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นห่วงเป็นใยความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง ยากที่ผู้ใดจะลืมเลือน การเดินทางตามเส้นทางเสด็จของพระองค์นี้จึงมีเรื่องราวน่าศึกษามากมายสายหนึ่งของราชบุรี เริ่มจากท่าน้ำคลองดำเนินสะดวก ผ่านไร่องุ่น แวะชิมน้ำมะพร้าวอ่อน ก่อนผ่านสวนเกษตรผสมผสาน ชมบ้านเรือนไทยเก่าแก่ริมน้ำ ชิมน้ำตาลมะพร้าวสดแก้กระหายแล้วอิ่มอร่อยกับก๋วยเตี๋ยวเรือ เจ้าของรางวัลชนะเลิศดำเนินสะดวก ผ่านหน้าวัดโชติทายการามและบ้านเจ๊กฮวดที่ครั้งหนึ่งรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาในแบบสามัญชนและเสวยพระกระยาหารกลางวันที่นี่ ก่อนจะผ่านตลาดลัดพี สู่ใจกลางตลาดน้ำดำเนินสะดวกอีกครั้งหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3224 1023 และ 0 3234 6161

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามตั้งอยู่ที่ตำบลแพงพวย หากเดินทางมาจากบางแพ วัดอยู่ก่อนถึงแยกดำเนินสะดวก 10 กิโลเมตร ด้านขวามือ วัดมีสถานที่กว้างขวาง และร่มรื่น เนื้อที่ ราว 200 ไร่ ซึ่งมีบริเวณที่เป็นสวนป่า ซึงได้รับรางวัลสวนป่าดีเด่นจากกรมป่าไม้ ประจำปี 2539 ในบริเวณวัด มีอุทยานการศึกษาในบริเวณสวนป่า อุโบสถ ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยดีเด่น และประดิษฐานพระพุทธรูปหยกปางต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นสำนักเรียนภาษาบาลีประจำจังหวัด มีนิทรรศการเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และสอนวิปัสสนาสำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ การเดินทาง รถบขส.ปอ.2 สาย 78(กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ) จากสายใต้ ลงหน้าวัดหลวงพ่อสดฯ กม.ที่ 14 (ก่อนถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวก) หรือมีรถรับส่งฟรีจากวัดสระเกศสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3224 6090-6 หรือที่เว็บไซต์ www.concentration.org ที่มาhttp://www.mediathai.net/module/travel/travel_thai_place_detail.php?province_id=29&district_id=800&place_id=1906

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วัดเขาช่องพราน


อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร แนะนำว่าควรที่จะเที่ยวสถานที่อื่นก่อนหลังจากนั้นประมาณ5 โมงเย็นจึงจะมารอดูค้างคาว ค้างคาวมีมากมาย เป็น ล้านๆตัว แต่ต้องยืนอยู่ห่างจากถ้ำที่ค้างคาวออกมา เพราะกลิ่นเหม็นมาก ค้างคาวจะออกมาก่อนพลบค่ำดูมืดเต็มท้องฟ้าค้างคาวจะบินไปเป็นกลุ่มๆ แล้วหมุนกันเป็นเกลียวเป็นวงๆ
---------ทางวัดเขาช่องพราน มีการจัดระเบียบอย่างดี มีที่จอดรถ ซึ่งภายในมีร้านอาหารขายสินค้ามากมายสะดวกและมีห้องน้ำสะอาดมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมากมายในแต่ละวันมีทั้ง ชาวจีน ไต้หวันญี่ปุ่น ฮ่องกง อเมริกาและทางยุโรป
----------ในร้านอาหารบริเวณนั้น มีรายการอาหารเด็กๆ เช่น ค้างคาวผัดเผ็ด ค้างคาวแกงป่ารสชาติอร่อยลองพิสูจน์กันได้
---------แนะนำว่านักท่องเที่ยวควรเที่ยวที่วัดเขาช่องพราน(ถ้ำค้างคาว) กันตอนเย็นๆรับประทานอาหารและพักกันที่นี่จังหวัดราชบุรี

ที่มา

http://www.geocities.com/nannyjk4/rat9.html

ในหลวงกับเทคโนโลยี

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้